ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย by Good Money
สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (DSR) มีความสำคัญต่อการขอสินเชื่ออย่างไร
สงสัยกันไหมว่าทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย สาเหตุหลักอาจมาจากสัดส่วนหนี้ต่อรายได้(DSR)
DSR(Debt Service Ratio) คือ สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ คือสิ่งที่ใช้ประเมินความสามารถในการจ่ายหนี้ และคุมหนี้ไม่ให้สูงเกินไปเทียบกับรายได้ เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินหลังจ่ายหนี้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
โดยปัจจุบันแต่ละสถาบันการเงินหรือ Non Bankกำหนด DSR เพื่อใช้พิจารณาสินเชื่อต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายสินเชื่อของแต่ละแห่ง โดยสามารถใช้สูตรในการคิดง่ายๆคือ
DSR = (ภาระหนี้ต่อเดือน ÷ รายได้ทั้งหมดรวมต่อเดือน*) x 100
*รายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โอที ค่าคอมมิชชัน เงินได้พิเศษทั้งจากการทำงานและการลงทุน
โดยกู๊ดมันนี่แนะนำว่าสุขภาพการเงินที่ดี DSR ไม่ควรเกิน 40% โดยที่
DSR น้อยกว่า 15% หมายถึง หนี้อยู่ในเกณฑ์ “ดี”
DSR ระหว่าง 15% – 40% หมายถึง หนี้อยู่ในเกณฑ์ “เหมาะสม”
DSR ระหว่าง 40% – 50% หมายถึง หนี้เกินตัว
DSR มากกว่า 50% หมายถึง หนี้เกินตัวขั้นอันตราย
หาก DSR ของท่านอยู่ในเกณฑ์ “หนี้เกินตัว” ถึงแม้รายได้จะสูงแต่ผู้ให้สินเชื่อยังมองว่าไม่สามารถปล่อยสินเชื่อในจำนวนที่สูงหรือไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้ท่านได้
สามารถปรับปรุง DSR ของท่านได้ด้วยการ
1. เพิ่มรายได้
2. ลดหนี้สิน
ลองมาคำนวณกันดู ว่าDSR เราเป็นเท่าไหร่ เพื่อให้ %DSR หรือสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของเราอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อโอกาสทางการเงินดีดีในอนาคต
โดยโปรแกรมสินเชื่อของกู๊ดมันนี่นั้น นำเสนออัตราดอกเบี้ย ที่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของลูกค้า ให้สินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้และไลฟ์สไตล์ทางการเงินของลูกค้า เพื่อส่งเสริมการกู้ยืมเงินอย่างมีความรับผิดชอบ
แล้วอย่าลืมรักษาเครดิตทางการเงินดีดีและกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหวรักษาเครดิตดีดีกันวันนี้ เพื่อโอกาสทางการเงินดีดีในอนาคตกันน้า
😊🙏🏻🙏🏻
กู๊ดมันนี่ เงินดีดีเพื่อคนไทย
สามารถติดตามความรู้คู่การเงินและข่าวสารจากกู๊ดมันนี่ในช่องทางต่างๆได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/goodmoneybygsb/
Instagram: https://www.instagram.com/goodmoneybygsb/
TikTok: https://www.tiktok.com/@goodmoneybygsb
YouTube:https://www.youtube.com/@GoodMoneybyGSB
Line ID: @goodmoneybygsb
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”
แก้ไขล่าสุดวันที่
ขอบคุณข้อมูลจาก: เว็บไซต์ NCB: https://www.ncb.co.th/ncb-infographic/credit-dee-saang-dai/
แชร์บทความนี้
วิธีการแก้หนีอื่นๆ
เครดิตดีมีประโยชน์อย่างไร by Good Money
- แก้หนี้
เตรียมความพร้อมก่อนเป็นหนี้
- แก้หนี้
อยากมีเครดิตดีต้องรู้จักการไกล่เกลี่ยและเร่งเคลียร์หนี้เสีย (NPL) ให้ถูกต้อง
- แก้หนี้