มือใหม่เริ่มลงทุนต้อง “รู้” อะไรบ้าง ?
กำหนดเป้าหมายในการออมเงิน
1. รู้จักตัวเอง
- ถามความต้องการของตัวเองก่อนว่าเราลงทุนไปเพื่ออะไร เช่น ลงทุนเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ เป็นต้น
- ต้องการไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น ต้องการเก็บเงินให้ได้ 1 ล้านบาทภายในระยะเวลา 7 ปี เป็นต้น
- รับความเสี่ยงในการลงทุนได้ในระดับไหน ระดับต่ำ ระดับกลาง ระดับสูง
- หุ้น >> เป็นการซื้อสิทธิ์การเป็นเจ้าของในบริษัทนั้น ๆ ที่เราลงทุนไป โดยเราจะมีส่วนในการรับผิดชอบทั้งกำไรและขาดทุนทั้งหมด
- กองทุนรวม >> แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ กองทุนรวมแบบปิด เป็นการเปิดขายกองทุนเพียงครั้งเดียว มีการกำหนดระยะเวลาของกองทุน 3 ปี 5 ปี 7 ปี และ กองทุนรวมแบบเปิด เป็นการเปิดตลาดขายกองทุนตลอดเวลา ผู้ซื้อสามารถซื้อเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนได้ตลอด
- อสังหาริมทรัพย์ >> เป็นการซื้อมาเพื่อปล่อยเช่าหรือขายต่อเพื่อทำกำไร เช่น คอนโด ทาวน์โฮม บ้านเดี่ยว เป็นต้น
- พันธบัตรหรือหุ้นกู้ระยะยาว >> เป็นการลงทุนในรูปแบบการของกู้ยืมเงินจากรัฐบาล ผู้ซื้อจะได้รับใบหลักฐานที่บอกว่าเจ้าหนี้ได้ยืมเงินเราเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ มีระยะเวลาในการจ่ายผลตอบแทนคืนเมื่อไหร่
- แบ่งสัดส่วนเงินที่ใช้ในการลงทุนให้ชัดเจน เช่น แบ่ง 30% ของรายได้ทั้งหมด เป็นต้น
- ตั้งเป้าหมายการลงทุนเป็นระยะสั้น ระยะยาว เพื่อให้มีกระแสเงินสดใช้อย่างต่อเนื่อง
- ทำความเข้าใจสินทรัพย์แต่ละประเภทก่อนที่จะเริ่มลงทุน
- วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น เช่น เศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ลงทุน, วิเคราะห์มูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุน เป็นต้น
กู๊ดมันนี่ เงินดีดีเพื่อคนไทย
สามารถติดตามความรู้คู่การเงินและข่าวสารจากกู๊ดมันนี่ในช่องทางต่างๆได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/goodmoneybygsb/
Instagram: https://www.instagram.com/goodmoneybygsb/
Line ID: @goodmoneybygsb
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”
แก้ไขล่าสุดวันที่
15/10/2024
ขอบคุณข้อมูลจาก:
เว็บไซต์ออมตังค์ https://oomtang.gsb.or.th/kms/kms_view/263
แชร์บทความนี้
บทความอื่นๆ
เป็นหนี้ แต่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ร้ายแรงกว่าที่คิด by Good Money
เป็นหนี้ แต่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย
- แก้หนี้
ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย by Good Money
ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (DSR) มีความสำคัญต่อการขอสินเชื่ออย่างไร
- วางแผนทางการเงิน
เครดิตดีมีประโยชน์อย่างไร by Good Money
เครดิตคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ
- แก้หนี้