6 ขั้นตอนเริ่มลงทุนสำหรับมือใหม่ กำไรแบบไม่เจ็บ
- เตรียมเงิน
- ควรเป็น “เงินเย็น” ที่แบ่งจากเงินออม โดยไม่เบียดบังค่าใช้จ่าย
- เงินที่ใช้รายจ่ายและเงินลงทุนรวมกันไม่ควรเกิน 75% ของรายได้ เพื่อเก็บอีก 25% ที่เหลือไว้ออม
ตัวอย่าง : นายออมเงินเดือน 30,000 บาท รายจ่ายเดือนละ 21,000 บาท
ดังนั้นเงินลงทุนต่อเดือนไม่ควรเกิน 30,000(0.75) – 21,000 = 1,500 บาท
- ตั้งเป้าหมาย ลงทุนเพื่ออะไร?
- ลดหย่อนภาษี
- เอาชนะเงินเฟ้อ
- ทำกำไร สร้างเนื้อสร้างตัว
- เก็บเกี่ยวผลตอบแทนหลังเกษียณ
- เลือกระดับความเสี่ยงที่รับได้ แบ่งตามความคาดหวัง
- “กำไรสูงกว่าเงินฝากนิดหน่อยก็พอ” >> รับความเสี่ยงได้น้อย
- “ขอกำไรมากหน่อย เป็นรายได้เสริม” >> รับความเสี่ยงได้ปานกลาง
- “ขอกำไรเยอะ ๆ จนตั้งตัวได้” >> รับความเสี่ยงได้มากแบ่งตามบุคคล
- “รายได้ไม่มาก เงินเก็บไม่มาก ภาระเยอะ” >> รับความเสี่ยงได้น้อย
- “มีความมั่นคงพอควร ดูแลตัวเองกับครอบครัวได้” >> รับความเสี่ยงได้ปานกลาง
- “รายได้เยอะ เงินเก็บเยอะ มีเวลาบริหาร” >> รับความเสี่ยงได้มาก
- รู้จักประเภทการลงทุน
- ตราสารหนี้ >> เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง เสี่ยงน้อย กำไรน้อยแต่ค่อนข้างแน่นอน
- กองทุนรวม >> มีทั้งเสี่ยงน้อยและมากแล้วแต่กองทุน บางประเภทลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- หุ้น >> ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET หรือ mai ซึ่งมีโอกาสได้ทั้งเงินปันผลและกำไรจากส่วนต่างราคา แต่ต้องวิเคราะห์หุ้นเป็น
- อสังหาริมทรัพย์ >> เช่น ตึกแถว คอนโด ที่ดิน ใช้เงินเริ่มต้นสูง ได้เป็นเจ้าของ กำไรขึ้นอยู่กับทำเล
- ธุรกิจส่วนตัว >> มีโอกาสกำไรหลายเท่า แต่เสี่ยงมากสุด ใช้ความสามารถมากสุด
- จัดพอร์ตลงทุน
- มือใหม่ควรเริ่มจากจำนวนเงินน้อย ๆ ความเสี่ยงต่ำ ๆ
- ก่อนลงทุนใด ๆ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน
- วัยเกษียณไม่ควรลงทุนแบบเสี่ยงสูงเกินไป
- หากลงทุนในหุ้น ควรเลือกบริษัทโบรกเกอร์ที่มีคุณสมบัติดังนี้
- ถูกกฎหมาย ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (หรือที่เรียกกันว่า”มาร์”) มีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.
- ระบบดี มีมาตรฐาน บริการหลังการขายเยี่ยม
- บทวิเคราะห์เชื่อถือได้
- ฐานะการเงินมั่นคง
- ค่าธรรมเนียมเหมาะสม
- เก็บเกี่ยวประสบการณ์
- ประเมินผลตอบแทนสม่ำเสมอ แล้วนำประสบการณ์มาปรับพอร์ตลงทุนให้เติบโต
- อ่านหนังสือ หรือติดตามเพจเกี่ยวกับการลงทุน
- เข้าอบรมสัมมนาด้านการลงทุน
- เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์สูง
กู๊ดมันนี่ เงินดีดีเพื่อคนไทย
สามารถติดตามความรู้คู่การเงินและข่าวสารจากกู๊ดมันนี่ในช่องทางต่างๆได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/goodmoneybygsb/
Instagram: https://www.instagram.com/goodmoneybygsb/
Line ID: @goodmoneybygsb
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”
แก้ไขล่าสุดวันที่
15/10/2024
ขอบคุณข้อมูลจาก:
เว็บไซต์ออมตังค์ https://oomtang.gsb.or.th/kms/kms_view/45
แชร์บทความนี้
บทความอื่นๆ
เป็นหนี้ แต่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ร้ายแรงกว่าที่คิด by Good Money
เป็นหนี้ แต่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย
- แก้หนี้
ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย by Good Money
ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (DSR) มีความสำคัญต่อการขอสินเชื่ออย่างไร
- วางแผนทางการเงิน
เครดิตดีมีประโยชน์อย่างไร by Good Money
เครดิตคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ
- แก้หนี้