วิธีออมอย่างคุ้มค่าและเพิ่มผลตอบแทน — ออมเงินแบบใดที่สามารถลดหย่อนภาษี กองทุนแบบใดที่ควรลง บทความนี้มีคำตอบ!
รวมวิธีออม “ลดหย่อนภาษีได้-ดอกเบี้ยไม่เสียภาษี”ผลตอบแทนดีเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ออมแบบนี้ ลดหย่อนภาษีได้
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ >> ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) >> ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยถือครองขั้นต่ำ 10 ปี
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) >> ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) >> ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 13,200 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ >> ลดหย่อนได้ตามจริง โดยไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน >> ลดหย่อนได้ตามจริง โดยไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
- ประกันชีวิต >> เบี้ยประกันลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ >> เบี้ยประกันลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ >> เบี้ยประกันลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท
ออมแบบนี้ ลดหย่อนไม่ได้ แต่ดอกเบี้ยไม่เสียภาษี
- ดอกเบี้ยเงินฝากไม่ถึง 20,000 บาทต่อปี และเซ็นยินยอมให้ข้อมูลกับสรรพากร
- สลากออมสิน
- เงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
- เงินฝากประจำสำหรับผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่มีระยะฝากขั้นต่ำ 1 ปี และเมื่อรวมกับดอกเบี้ยฝากประจำทุกประเภทแล้วไม่เกิน 30,000 บาท
กู๊ดมันนี่ เงินดีดีเพื่อคนไทย
สามารถติดตามความรู้คู่การเงินและข่าวสารจากกู๊ดมันนี่ในช่องทางต่างๆได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/goodmoneybygsb/
Instagram: https://www.instagram.com/goodmoneybygsb/
Line ID: @goodmoneybygsb
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”
แก้ไขล่าสุดวันที่
15/10/2024
ขอบคุณข้อมูลจาก:
เว็บไซต์ออมตังค์ https://oomtang.gsb.or.th/kms/kms_view/178
แชร์บทความนี้
บทความอื่นๆ
เป็นหนี้ แต่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ร้ายแรงกว่าที่คิด by Good Money
เป็นหนี้ แต่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย
- แก้หนี้
ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย by Good Money
ทำไมรายได้เยอะแต่ขอสินเชื่อได้น้อย สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (DSR) มีความสำคัญต่อการขอสินเชื่ออย่างไร
- วางแผนทางการเงิน
เครดิตดีมีประโยชน์อย่างไร by Good Money
เครดิตคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ
- แก้หนี้