อยากอยู่รอด อย่างมั่งคั่ง? ต้องเข้าใจ “สภาพคล่องทางการเงิน” | Good Money

💰 สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสด ได้รวดเร็ว เพื่อใช้จ่ายหรือจ่ายหนี้โดยไม่กระทบต่อสถานะการเงิน หากคุณอยากมั่นใจว่า การเงินของคุณแข็งแกร่ง ต้องเริ่มจากการเช็กสภาพคล่องของตัวเองให้ดี!

🔍 สินทรัพย์แบบไหนสภาพคล่องสูง – ต่ำ?

สินทรัพย์สภาพคล่องสูง (เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย)

  • เงินสด
  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • บัญชีฝากประจำระยะสั้น
  • สลากออมสิน
  • ประกันชีวิตแบบมีเงินคืน
  • กองทุนรวมตลาดเงิน

สินทรัพย์สภาพคล่องต่ำ (ใช้เวลานานกว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด)

  • รถยนต์
  • คอนโด บ้าน ที่ดิน
  • พันธบัตรระยะยาว
  • เครื่องประดับ ของสะสม

เคล็ดลับ: ยิ่งมีสินทรัพย์สภาพคล่องสูงมากเท่าไร คุณจะมีเงินสำรองพร้อมใช้ในยามฉุกเฉินมากขึ้น

📊 วิธีเช็กสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง

1. เช็ก “งบดุลส่วนบุคคล”

📌 สูตรคำนวณ: ความมั่งคั่งสุทธิ = มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด – หนี้สินทั้งหมด

  • ถ้าเป็นบวก = ฐานะการเงินมั่นคง
  • ถ้าเป็นลบ = ต้องเร่งจัดการหนี้

2. เช็ก “งบรายรับ – รายจ่าย”

📌 สูตรคำนวณ: เงินคงเหลือสุทธิ = รายรับทั้งหมด – รายจ่ายทั้งหมด

  • ควรเป็นบวก = มีเงินเหลือสำหรับออมและลงทุน
  • ถ้าเป็นศูนย์หรือติดลบ = ต้องควบคุมค่าใช้จ่าย

3. เช็ก “อัตราส่วนสภาพคล่อง”

📌 สูตรคำนวณ: อัตราส่วนสภาพคล่อง = มูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องสูง / หนี้สินระยะสั้น

  • มากกว่า 1 = มีเงินสำรองเพียงพอ
  • ต่ำกว่า 1 = เสี่ยงขาดสภาพคล่อง ต้องหารายได้เพิ่ม

4. เช็ก “อัตราส่วนเงินออม”

📌 สูตรคำนวณ: อัตราส่วนเงินออม = จำนวนเงินออม / รายได้รวม

  • ควรมากกว่า 10% ของรายได้ทั้งหมด

💡 ทำไมต้องมีสภาพคล่องทางการเงิน?

✔️ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินฉุกเฉิน
✔️ จัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✔️ พร้อมลงทุนเพื่ออนาคต

📢 วางแผนการเงินง่าย ๆ กับ Good Money

หากคุณกำลังมองหา แอปสินเชื่อถูกกฎหมาย ที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้คุณ Good Money พร้อมช่วยให้คุณเดินหน้าทางการเงินได้อย่างมั่นใจ

กู๊ดมันนี่ สินเชื่อปลอดภัย ถูกกฎหมาย สมัครง่าย กู้ได้ทุกอาชีพ

Remark 1 scaled

🔎 แวะมาอ่านบทความดีดี ของกู๊ดมันนี่

🏦 กู๊ดมันนี่แก้หนี้ Click
📕 ความรู้ทางการเงินและการส่งเสริมอาชีพ Click

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี

สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”

แก้ไขล่าสุดวันที่

13/03/2025

ขอบคุณข้อมูลจาก:

เว็บไซต์ออมตังค์  https://oomtang.gsb.or.th/kms/kms_view/56

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ

10 ประเภทกองทุนที่คุณควรรู้จัก ก่อนเลือกลงทุนให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงิน
10 ประเภทกองทุนที่คุณควรรู้จัก ก่อนเลือกลงทุนให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงิน
ก่อนตัดสินใจลงทุน ลองมาทำความเข้าใจ 10 ประเภทกองทุนรวมที่เหมาะกับเป้าหมายของคุณ
7 เคล็ดลับออมเงินให้มีความสุข สนุก และสร้างอนาคตที่มั่นคง
7 เคล็ดลับออมเงินให้มีความสุข สนุก และสร้างอนาคตที่มั่นคง
7 เคล็ดลับออมเงินให้มีความสุข สนุก และสร้างอนาคตที่มั่นคง
3 วิธีมีเงินใช้คล่องมือ – ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
3 วิธีมีเงินใช้คล่องมือ – ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เคลียร์หนี้ให้ไว!
ไม่ว่าคุณจะต้องการ สินเชื่อ หรือ เงินกู้